การต่อกิ่ง

IMG_0700
           การต่อกิ่ง  เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศที่สามารถทำได้โดยการนำกิ่งพันธุ์ดีที่มีตามากกว่า  1  ตา มาต่อบนต้นตอ เพื่อให้เนื้อเยื่อเจริญทั้งสอง เชื่อมประสานเป็นต้นเดียวกัน  การขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่อกิ่ง จะดีกว่าการติดตามาก เพราะจะได้รอยต่อที่แข็งแรงกว่ามาก การต่อกิ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลาย และได้ผลดีกับพืชบางชนิด  เช่น  เฟื่องฟ้า  ชบา  โกสน  เล็บครุฑ  มะม่วง พุทรา ขนุน องุ่น  ฯลฯ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการต่อกิ่ง   
1) พืชที่นำมาเสียบเข้าด้วยกันต้องเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่อาจต่างพันธุ์กันได้
2) กิ่งพันธุ์ดีจะต้องมีความสดอยู่เสมอ  ซึ่งควรเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น
3) รอยแผลที่ทำการเสียบจะต้องแนบกันสนิทให้เนื้อเยื่อเจริญของพืชทั้งสองส่วนสัมผัสกันมากที่สุด เพื่อจะได้เชื่อมประสานกันได้รวดเร็ว
4) เลือกตาพันธุ์ที่กำลังพักตัว คือ พร้อมที่จะแตกยอดใหม่
5) ใช้แถบพลาสติกพันทับรอยเชื่อม ไม่ให้น้ำและเชื้อโรคเข้าได้
6) รอยแผลจะต้องรักษาความสะอาดให้มากที่สุด    ระวังอย่าให้สัมผัสน้ำหรือความชื้น มากเกินไป
7) ลิดใบพันธุ์ดีทิ้ง และใช้พลาสติกคลุม ป้องกันการคายน้ำ และรักษาความชื้น

ขั้นตอนการต่อกิ่งเฟื่องฟ้า มีดังนี้

๑.หากิ่งพันธ์เฟื่องฟ้า สีต่างๆ ที่ต้องการต่อกับต้นแม่พันธุ์

๒.ใช้เลื่อยตัดกิ่งต้นพันธ์ให้เป็นแผลใหม่เพื่อเตรียมเนื้อเยื่อให้พร้อมการเจริญเติบโต

๓.ทำความสะอาดแผลต้นพันธ์ให้สะอาดโดยใช้ใบมีดโกน

๔.ใช้ใบมีดผ่าลงตามแนวลำต้นบริเวณเปลือกเนื้อเยื่อเจริญรอบลำต้น เท่ากับจำนวนกิ่งที่ต้องการเสียบหรือต่อ

๕.เตรียมกิ่งเฟื่องฟ้าสีต่างๆ ที่ต้องการโดยตัดให้ปลายแหลมเตรียมนำมาเสียบหรือต่อกิ่ง

๖.เสียบลงบริเวณแผลที่ผ่าไว้เตรียมการเสียบหรือต่อกิ่ง

๗.จากนั้นใช้เทปใสพันกิ่งเพื่อไม่ให้หลุด

๘.ใช้พลาสติกใสห่อไม่ให้น้ำและอากาศเข้า กิ่งเล็กให้อาศัยน้ำเลี้ยงจากต้นพันธ์ุ

๙.ถ้าอยู่กลางแจ้งให้ห่อด้วยกระดาษอีกหนึ่งชั้น

๑๐.ทิ้งไว้ประมาณ ๑-๒ สัปดาห์ กิ่งที่เสียบก็จะเริ่มผลิใบ เมื่อแน่ใจว่าต้นอ่อนแข็งแรง ก็แกะถุงพลาสติกและกระดาษที่ห่อออก ปล่อยให้เจริญเติบโตออกใบ ออกดอกเป็นสีต่างๆ ที่เราเห็นเฟื่องฟ้าต้นเดียวแต่หลายสีนั่นเอง

การตัดแต่งโดยทั่ว ๆ จะมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ
           1. เด็ดยอดหรือเด็ดตา (Pinching) โดยการใช้มือเด็ดเอาส่วนยอดออกหรือตาอ่อนออก ทั้งนี้เพื่อบังคับให้แตกกิ่งก้านสาขาตามที่ต้องการ
ดาวน์โหลด (2)
         2. การตัดกิ่งให้เบาบางลง (Thinning) การตัดแต่งวิธีนี้จะตัดทั้งกิ่งทิ้งเพื่อให้ทรงต้นโปร่ง กระตุ้นกิ่งที่เหลืออยู่ให้เจริญเติบโต นอกจากนั้นยังช่วยทำลายกิ่งที่ไม่ต้องการเช่นกิ่งไขว้กัน กิ่งกระโดง กิ่งที่ถูกโรคหรือแมลงทำลาย
ดาวน์โหลด (1)
        3. การตัดยอดให้สั้น (Heading back ) จะช่วยกระตุ้นการเจริญของจุดเจริญให้มีมากขึ้น เพราะตาอ่อนที่อยู่บนยอดจะปล่อยฮอร์โมนพวก auxin เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง

11

ขอบคุณแหล่งที่มา:http://banmai_n/       

ขอบคุณแหล่งที่มา http://latnoziroh.diaryclub.com