ความรู้เกี่ยวกับเฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า

images (28)

                เฟื่องฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Bougainvillea เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2 – 3 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม.ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
เฟื่องฟ้าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศบราซิลโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสราว ค.ศ. 1766-1769 และได้ถูกนำไปปลูกยังส่วนต่าง ๆ ของโลก เริ่มจากยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย สำหรับในประเทศไทย มีการนำพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาจากสิงคโปร์ครั้งแรกราว พ.ศ. 2423 ใน สมัยรัชกาลที่ 5พันธุ์เฟื่องฟ้าในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่าต่างประเทศ เนื่องจากเฟื่องฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย และกลายพันธุ์เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมากมาย

ลักษณะทั่วไป
                เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเท่าหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ0.51เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปใข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบเรียบสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 – 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมคร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์

ประวัติและถิ่นกำเนิดของเฟื่องฟ้า

IMG20160703172253[1]               เฟื่องฟ้าเป็นไม้เลื้อยมีหนาม มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีผู้นำเข้าไปยังทวีปยุโรป หลังจากนั้นก็ได้มีผู้นำเฟื่องฟ้าเข้าไปในทวีปเอเซีย เช่น ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ สำหรับในประเทศไทยนั้นเชื่อกันว่ามีการสั่งพันธุ์เฟื่องฟ้าเข้ามาครั้งแรกจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2423 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 และเนื่องจากเฟื่องฟ้านั้นส่วนใหญ่จะออกดอกบานสะพรั่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับเทศกาลตรุษจีนพอดี ชาวบ้านในระยะนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า “ดอกตรุษจีน”

ความนิยม “เฟื่องฟ้า” ในประเทศไทยนั้นบางครั้งก็โด่งดังเป็นพลุ บางครั้งก็ซบเซาเงียบเหงาเช่นเดียวกับไม้ประดับชนิดอื่น ๆ เช่น โกสน บอนสี ขึ้นอยู่กับยุคสมัย ซึ่งต่อมาในช่วงระยะหลัง ๆ นี้ ก็ได้มีผู้นำพันธุ์เฟื่องฟ้าจากต่างประเทศเข้ามามากมายหลายพันธุ์
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเฟื่องฟ้า
            เฟื่องฟ้าเป็นไม้ประดับใบที่ถูกจัดให้อยู่ในวงศ์หรือแฟมมีลี่ (Family) ไนทาจีเนซีอี้ (Nyctaginaceae) สกุลหรือจีนัส (Genus) บูเกนวิลเลีย (Bougainvillea)
ลำต้น เฟื่องฟ้าเป็นไม้ประเภทรอเลื้อยมีหนามสำหรับการเกาะเกี่ยว และป้องกันอันตรายให้แก่ ทรงพุ่ม ลำต้นกลม เปลือกบาง เนื้อไม้แข็งและเหนียว
ใบ เป็นลักษณะของใบเดี่ยว มีทั้งลักษณะเป็นรูปไข่ และกลมรี ยาวรี แผ่นใบกว้างประมาณ 2-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. มีทั้งสีเขียวเข้มจนกระทั่งเขียวอ่อนและใบด่าง นอกจากนี้ยังมีใบประดับ มีสีสันต่าง ๆ มากมายซึ่งคนทั่วไปมักจะเข้าใจว่าคือดอกของเฟื่องฟ้าจะรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 ใบ
ดอก มีขนาดเล็กติดอยู่กับใบประดับ ไม่มีกลีบดอกมีแต่กลีบเลี้ยงเป็นรูป 5 แฉก ติดกันเป็นหลอด
ผล จะมี 5 เหลี่ยม เมล็ดติดแน่นกับเปลือกผล เฟื่องฟ้าบางพันธุ์ก็ให้ผลและเมล็ดมากมายจึงมีโอกาสกลายพันธุ์ได้ง่าย แต่บางพันธุ์ก็มีผลและเมล็ดน้อย โอกาสที่จะกลายพันธุ์เนื่องจากการเพาะเมล็ดจึงยาก

การขยายพันธุ์เฟื่องฟ้าเพื่อการค้า
                การขยายพันธุ์เฟื่องฟ้าเพื่อการค้านั้นนิยมทำกันอยู่ 2 ลักษณะ คือ การปักชำกิ่งและการเสียบยอด
การปักชำกิ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ
                1. ปักชำกิ่งขนาดเล็กเท่ากับปลายตะเกียบไปจนถึงนิ้วมือ เพื่อปลูกเฟื่องฟ้ากระถางขาย
                2. การปักชำกิ่งใหญ่ หรือกิ่งเฟื่องฟ้าที่เป็นกิ่งแก่ กิ่งติดกับลำต้น ทั้งนี้เพราะว่าเฟื่องฟ้าตอนั้นหายากขึ้น และมีปริมาณลดน้อยลง ประกอบกับกิ่งเฟื่องฟ้าบางกิ่งนั้นมีลักษณะที่จะจัดเป็นฟอร์มต้นที่สวยงามได้ ก็นำมาปักชำทดแทนต้นตอแท้ ๆ ที่หายาก
               3. การปักชำต้นตอซึ่งเป็นต้นตอเฟื่องฟ้าที่ขุดเอามาจากตามบ้านนอกที่ชาวบ้านปลูกเอาไว้นาน ๆ หลาย ๆ ปี บางต้นมีอายุร่วม 100 ปี ก็มี เมื่อเฟื่องฟ้าแตกยอดแตกกิ่งดีแล้วก็นำมาเสียบยอดเพื่อเปลี่ยนพันธุ์และสีสันต่อไป

พันธุ์เฟื่องฟ้าที่ปลูกเป็นไม้มงคล
              1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา


             2. พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี


             3. พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช


             4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี


            5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง


            6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัย


การเป็นมงคล

p15

            คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้าน สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เพราะเฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ ที่ได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับเนื่องจากสามารถนำเฟื่องฟ้าไปใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพเพื่อประดับสวนอาคาร   บ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่างๆนอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลทำสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงทำให้บางคนเรียกต้นเฟื่องว่าว่าต้นตรุษจีนดังนั้นบางคนเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานแสดงถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรือง ที่ก้าวไกลแห่งชีวิต  ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก   เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเฟื่องฟ้า ไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางด้าน ให้ปลูกในวันพุธ และถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะเฟื่องฟ้าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับ ดังนั้นชื่อจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสุภาพสตรี

ขอบคุณแหล่งที่มา:http://www.maipradabonline.com/